เผยวิธีเขียนนวนิยาย…แบบหมดเปลือก

สาระเพื่อนักเขียน

11. การตรวจแก้ไขต้นฉบับ

เมื่อเราเขียนนวนิยายจนจบแล้ว หากใช่ว่าทุกอย่างจะจบลงเพียงแค่นั้น นักเขียนที่ดีจะต้องอ่านทบทวน แก้ไข ผลงานของตนเองจนพึงพอใจ แล้วจึงจะนำเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ถึงขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่เยอะและออกจะน่าเบื่อไปเสียหน่อย แต่นักเขียนมือใหม่อย่างเรา ต้องใส่ใจเอาไว้เลยว่า ขั้นตอนนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก  พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยดีกว่า

  1. วางแผน ก่อนจะเริ่มทำการตรวจทานนั้น ควรวางแผนให้ดีเสียก่อน ว่าจะตรวจทานอย่างไรในแต่ละครั้ง และจะตรวจทานในเรื่องอะไร เช่น
  • การตรวจครั้งที่หนึ่ง ให้ดูโครงสร้างความไหลรื่นของเรื่องราว ตั้งแต่ต้นจนจบ ตัวละครมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โครงเรื่องย่อยมีความสัมพันธ์กับโครงเรื่องหลักมากน้อยแค่ไหนและในแต่ละบทมีเบ็ดเกี่ยวให้คนอ่านติดตามมากพอหรือเปล่า
  • การตรวจครั้งที่สอง ในครั้งนี้เป็นการตรวจเพื่อเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดหาย หรือตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นทิ้งไปนั่นเอง
  • การตรวจครั้งที่สาม ให้ดูรายละเอียดไปทีละอย่าง เช่น ภาษาที่เลือกใช้นั้นมีความเหมาะสมไหม แสดงออกถึงความหมายที่ต้องการจะสื่อได้ชัดเจนหรือยัง ใช้คำซ้ำซากเกินไปหรือเปล่า
  1. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
  • ต้นฉบับ หากคุณทำทุกอย่างในคอมพิวเตอร์ จงพิมพ์งานเขียนนั้นออกมา การอ่านในกระดาษนั้นย่อมแตกต่างกับการอ่านจากจอมอนิเตอร์ และถ้าหากคุณเขียนด้วยลายมือของตนเอง ก็จงใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ออกมา ด้วยวิธีการใหม่นี้จากการที่คุณได้ทำงานในรูปแบบของคุณ จะช่วยทำให้คุณได้เห็นผลงานในมุมมองใหม่ และการมองเห็นความผิดพลาดก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น ในการพิมพ์ ควรจะมีระยะห่างระหว่างบรรทัดที่มากกว่าปกติ เพราะคุณจะสามารถ ขีด เขียน กาทับ และแก้ไขทุกอย่าง ได้ตามใจของคุณเลย
  • ปากกา ในการเลือกใช้ปากกานั้น ควรเลือกใช้ปากกาที่มีหลากหลายสี และเขียนได้คล่องมือ
  • สมุดเล่มเล็ก เพื่อเตรียมไว้จดว่า จะต้องเพิ่ม ลดทอน ในส่วนไหน หรือจะต้องแก้ไขในตอนไหนบ้าง
  1. จัดตารางเวลา ควรกำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจแก้ไข ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่
  2. ขณะที่ทำการตรวจแก้ ก่อนที่จะเริ่มการตรวจแก้นั้น ให้คุณแกล้งทำเป็นไม่เคยพบเจอเรื่องราวเหล่านี้มาเสียก่อน ถ้าจะให้ดีหลังจากที่คุณเขียนเสร็จนั้น ควรเก็บต้นฉบับให้ห่างตัวและออกไปพักผ่อน อย่างน้อยๆก็สัก 2 สัปดาห์ ให้คุณอ่านด้วยความคิดที่เป็นของคนอื่น หรือเป็นนักวิจารณ์ อย่าอ่านเรื่องราวด้วยความคิดที่ว่า คุณคือคนเขียนเรื่องราวนี้
  3. อ่านออกเสียงออกมาให้ดัง ๆ เพื่อให้ตัวคุณเองนั้นได้ยินเสียงเรื่องราวด้วย เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมๆกับการตั้งคำถามไปด้วย เช่น
  • ตัวละครที่เคยปรากฏอยู่ในเรื่อง ได้หายไปโดยไม่ได้อธิบายหรือเปล่า เพราะตัวละครภายในเรื่องไม่ควรที่จะหายไปเสียเฉยๆ
  • ตัวละครยังคงเหมือนหรือเปลี่ยนแปลงไปจากตอนต้นเรื่องไหม แล้วถ้าเปลี่ยนไปจากตอนต้น คุณได้แสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างชัดเจนหรือเปล่า
  • ฉากและเหตุการณ์ต่างๆ ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดไอเดียหรือสร้างบทบาทใหม่ๆ ให้กับเรื่องราวไหม เพื่อที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวไปยังตอบจบ
  • คุณหาวัตถุประสงค์หรือ แก่นของเรื่องราวที่คุณต้องการจะนำเสนอเจอไหม
  • ฉากและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในเรื่องราว เหมาะสมกับบทบาทของตัวละครมากน้อยเพียงใด และเขียนออกมาได้ดีหรือยัง
  • ตัวสะกด และภาษาที่ใช้ ถูกต้องมากน้อยเพียงใด
  1. ระหว่างที่อ่านนั้น คุณยังสามารถแก้ไข ความผิดพลาด เล็กๆน้อยๆ ได้อีกด้วย เช่น ตัวสะกด หรือเรื่องของการใช้ภาษา
  2. อย่าลืมทำเครื่องหมายดอกจันทร์ จงทำเครื่องหมายไว้ในตอนที่คุณเห็นว่าควรจะปรับเปลี่ยน และอย่าลืมเขียนเนื้อหาที่คุณจะเพิ่มเติม แก้ไข เอาไว้ในสมุดโน้ตด้วย
  3. เมื่ออ่านจบทั้งเรื่องแล้วนั้น ก็ให้คุณทำการเริ่มอ่านใหม่อีกครั้ง พร้อมทั้งเพิ่มเติม หรือตัดสิ่งที่ไม่ต้องไม่ต้องการออกไปเสีย การที่คุณจะเริ่มดำเนินการในขั้นตอนนี้ คุณจะต้องอ่านให้จบทั้งเรื่องซะก่อน เพราะบางทีเรื่องราวมันก็เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ทำให้ต้องแก้ไขเป็นทอดๆไป จงมั่นใจในสิ่งที่คุณต้องการจะเพิ่ม และสิ่งที่คุณจะตัดออกไป และอย่าลืมแก้ไขผลที่จะเกิดขึ้นในตอนหลังด้วยละ ควรอ่านซ้ำๆและค่อยๆแก้ไขไปทีละบท
  4. อ่าน และ อ่านอีกครั้ง จงอ่านอีกครั้งหลังจากที่คุณได้แก้ไขทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้ว
  5. สิ่งที่คุณควรตัดทิ้ง หรือไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว ในการเขียนครั้งหนึ่ง ไม่ควรที่จะตัดทิ้งไปทันที ให้เก็บไว้ในหัวข้อ ตัดทิ้ง ในสมุดบันทึกของคุณ เพราะเผื่อสักวันหนึ่ง เรื่องราวเหล่านั้นจะเกิดประโยชน์กับงานเขียนชิ้นใหม่ของคุณนั่นเอง
  6. อย่าเสียดาย ในการตรวจแก้ไข อย่ารู้สึกกลัวหรือเสียดายที่จะตัดบางสิ่งทิ้งไป นักเขียนบางคนเขียนลงไป ด้วยความสนุกและเพลิดเพลินกับการเขียนในตอนนั้น แต่เพราะการเขียนนวนิยายไม่ใช่การที่จะเขียนทั้งหมดลงไป หากตอนไหนไม่ได้สอดคล้องและเรื่องราวเดินไปตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ก็ควรทิ้งมันออกไป
  7. ยิ่งคุณตรวจแก้ไขมากเท่าไหร่ งานของคุณก็จะออกมาดีมากเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ จนต้องขอเน้นไว้ และทำความเข้าใจเพิ่มเติม นั่นก็คือ วิธีการตรวจแก้และเรื่องที่ต้องการจะแก้ไข เราเชื่อว่านีกเขียนแต่ละคนมีวิธีในแบบของตัวเอง อาจไม่เหมือนใคร แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทำถูกหรือทำผิด ตราบใดที่มันยังทำให้คุณสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้