Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

ความเหมือนและความต่าง ระหว่าง "ประกันชีวิต" และ "ประกันวินาศภัย"

1 Posts
1 Users
0 Likes
224 Views
thanunchai
(@thanunchai)
Posts: 2530
Member Moderator Registered
Topic starter
 

2021-12-10-172006

ธุรกิจประกันชีวิตถือเป็นการประกอบกิจการที่มีการระดมเงินจากประชาชนในลักษณะที่คล้ายคลึงกับธุรกิจสถาบันการเงิน จึงต้องมีแนวทางการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการกำกับดูแลสถาบันการเงินและตามหลักเกณฑ์สากลของการประกันภัย  พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ใช้ในการกำกับและดูแลการประกอบธุรกิจการประกันชีวิต และการดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิต และตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต

ธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคง และมีผลกระทบต่อประชาชนหรือภาคธุรกิจอื่นๆ เป็นอย่างมาก จึงต้องมีแนวทางการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน เช่น กรณีบริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและสังคมในวงกว้าง ฯลฯ จึงได้มีการตรากฎหมายพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 เพื่อใช้ในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการประกันวินาศภัยในส่วนการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย และตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัย

ความแตกต่าง  ประกันชีวิต & ประกันวินาศภัย

  1. การพิจารณารับประกัน

ประกันชีวิต  พิจารณาจากอายุ  อาชีพ สุขภาพ และรายได้

ประกันวินาศภัย  การพิจารณาขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย

  1. เบี้ยประกันภัย

ประกันชีวิต  เปลี่ยนแปลงไม่ได้

ประกันวินาศภัย  อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกปีตาม ประสบการณ์หรือสถิติ

  1. การเรียกร้องค่าเสียหาย

ประกันชีวิต ไม่สามารถเรียกร้องการชดใช้ ความเสียหายจากบุคคลอื่นได้

ประกันวินาศภัย  สามารถรับช่วงสิทธิในการเรียก ร้องค่าเสียหายจากบุคคลอื่นได้

  1. ภาษีเงินได้

ประกันชีวิต  สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

ประกันวินาศภัย  ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อน ภาษี

ความเหมือน  ประกันชีวิต & ประกันวินาศภัย

  1. ค่าใช้จ่ายการทำประกันภัย

ปีแรกมีอัตราค่อนข้างสูง เนื่องจากรวมค่านายหน้า และค่าตรวจร่างกายของผู้เอาประกันภัย

  1. การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย
  • บริษัทมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน มีฐานะการเงินไม่มั่นคง
  • ฝ่าฝืนบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ประกันชีวิต / พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย
  • หยุดประกอบกิจการโดยไม่มีเหตุอันควร
  • ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยโดยไม่มีเหตุอันควร
  • ถ้าประกอบธุรกิจประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย ต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย
  1. การเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต / นายหน้าประกันวินาศภัย
  • ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย
  • ฝ่าฝืนบทบัญญัติ พ.ร.บ. ประกันชีวิต / พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย
  • ขาดคุณสมบัติการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต / นายหน้าประกันวินาศภัย
  1. ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย หากขายประกันโดยที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย หากทำสัญญาประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย โดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากทางบริษัทประกันภัย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

#บริษัทประกันวินาศภัย คือ
#ประกันชีวิตมีกี่ประเภท
#กรมธรรม์ประกันชีวิต คือ
#ประกันวินาศภัย บริษัท
#ข้อ แตก ต่าง ระหว่าง ประกันภัย กับ ประกันชีวิต
#ประกันภัย กับ ประกันวินาศภัย ต่างกันอย่างไร
#กรมธรรม์ประกันชีวิต
#กรมธรรม์ประกันชีวิต aia

 

 
Posted : 10/12/2021 5:20 pm
Share: