Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

จะไถ่บาปจากการทำแท้งได้อย่างไร (จากหนังสือธรรมะ "กุมารปาลจิรายุวัฒนนิโรธกรรมธารณีสูตร")

1 Posts
1 Users
0 Likes
144 Views
thanunchai
(@thanunchai)
Posts: 2530
Member Moderator Registered
Topic starter
 
ทําบุญให้ลูกที่หลุด,วิธีทําบุญให้ลูกที่เสียไป,ทำบุญให้ลูกที่เสียชีวิต,วัดแก้กรรม,วิธีแก้กรรมเรื่องลูก,แก้กรรมทําแท้งลูก,แก้กรรมทําแท้ง,วิธีตัดกรรมจากลูก,ทําบุญให้ลูกในครรภ์,ทําสังฆทานให้ลูก 
          ท่ามกลางยุคสมัยที่วัตถุและเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุด จิตใจของมนุษย์กลับตกต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อ ผู้คนต่างให้ความสำคัญกับวัตถุฐานะ เกียรติยศ ความสะดวกสบาย จนละเลยลืมเลือนไปซึ่งหิริโอตตัปปะและการให้ความเคารพกับ “ชีวิต” ทั้งที่ทุกชีวิตในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด หรือผิดแผกกันด้วยรูปลักษณะใด ต่างก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การได้รับความรัก การทนุถนอมและความเคารพทั้งสิ้น
 
          ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้คนจำนวนมากที่สร้างบาปมหันต์ด้วยการ “ทำแท้ง” คร่าชีวิตทารกบริสุทธิ์ในครรภ์ ไม่ว่าการตัดสินใจฆ่านี้จะมาจากผู้ที่ได้ชื่อว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ของทารก หรือมาจากคนรอบข้าง และไม่ว่าการทำลายชิวิตนี้จะเกิดจากความไม่สะดวก ไม่อยากรับผิดชอบ ความกลัว ความอับอาย ห่วงหน้าตาชื่อเสียง ความขาดสติ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ สิ่งนี้ได้ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมและพรากชีวิตที่ไร้ความผิด จนกลายเป็นตราบาปติดตัวอย่างยากที่จะลบเลือน
 
          หลายครั้งตราบาปนี้ก็ได้เฝ้าหลอกหลอนผู้หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่ จนไม่สงบสุขทั้งทางด้านร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าจะด้วยจิตสำนึกที่ลงโทษก็ดี หรือวิบากกรรมตามรุมเร้าก็ตาม แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่แม้ว่าจะสำนึกผิดในสิ่งที่กระทำลงไป แต่ก็ไร้ซึ่งทางออก 
 
          สิ่งที่เคยกระทำลงไป กรรมที่ได้สำเร็จแล้วย่อมไม่อาจที่จะล้างทิ้งเสมือนกับไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เจตนาของหนังสือเล่มนี้ จึงมีเพื่อชี้ให้เห็นถึงโทษของการทำแท้ง วิธีการดูแลรักษาทารก รวมไปถึงวิธีการสำหรับผู้ที่สำนึกผิดต่อการทำแท้งจากใจจริงว่าควรจะปเผชิญหน้า และบรรเทาความผิดพลาดที่ผ่านมาอย่างไร เพื่อให้ชีวิตของตนและคนรอบข้างมีโอกาสตั้งต้นและเดินกลับไปสู่หนทางแห่งแสงสว่างใหม่อีกครั้ง จึงขอเตือนผู้ที่ยังไม่เคยทำแท้งหรือกำลังจะทำ หากคิดว่าไปทำแท้งแล้วค่อยมาแก้ไขด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์นี้ ย่อมไม่อาจสำนึกขอขมาจากใจ วิธีการเหล่านี้ก็จะไม่บังเกิดผลแต่อย่างใด 
 

 

          อีกเจตนาหนึ่ง ยังเป็นการสร้างสติแก่ผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการทำแท้งให้พึงสังวร ไม่ทำ ไม่ยุยง ไม่ส่งเสริม ไม่สนับสนุน และไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนหนึ่งของวงจรการเบียดเบียนทำลายชิวิต การทำแท้ง อีกทั้งช่วยกันรณรงค์ตักเตือนผู้อื่นให้มีความกลัวและละอายต่อบาป และก้าวไปอีกขั้นคือ มีเมตตาเผื่อแผ่ไปยังทุกชีวิต ไม่ว่าชีวิตเหล่านั้นจะอยู่ในรูปหรือในภาวะใด เพื่อให้ชีวิตของตนและชีวิตทั้งมวลสามารถอยู่ร่วมกันอย่างอนาทร เกื้อกูลและผาสุกอย่างแท้จริง



จะไถ่บาปจากการทำแท้งได้อย่างไร 

 

          ขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกอันวุ่นวาย ผู้น้อยพบว่ามีผู้บำเพ็ญธรรมจำนวนมากที่บำเพ็ญธรรมด้วยความศรัทธาจริงใจ แต่ชีวิตกลับเต็มไปด้วยอุปสรรคและความลำบาก ไม่ว่าจะเป็นจากโรคภัยไข้เจ็บหรือชีวิตสมรสที่ไม่ราบรื่น กระทั่งลงลึกไปทำความเข้าใจกับผู้บำเพ็ญเหล่สนี้ว่า เพราะเหตุใดบำเพ็ญธรรมแล้ว ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิต ในทีสุดจึงทราบว่าผู้บำเพ็ญเหล่านี้ได้ก่อ “อนันตริยกรรม” ขึ้นโดยไม่รู้ตัว

 
          คำว่า “อนันตริยกรรม” คือ กรรมที่พุทธศาสนาจัดว่าเป็นกรรมที่หนักที่สุด โดยผู้สร้างอนันตริยกรรมทั้ง ๕ จะต้องได้รับโทษจากนรกอเวจี อนันตริยกรรม ๕ ได้แก่ การฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ส่วนการ “ทำแท้ง” นั้น พระพุทธองค์ทรงเปรียบเสมือนหนึ่ง “การฆ่าพระอรหันต์” จึงจัดเป็นหนึ่งในอนันตริยกรรมทั้ง ๕ 
 
          เหตุใดการทำแท้งจึงเสมือนหนึ่งการฆ่าพระอรหันต์ เนื่องด้วยทารกนั้นยังไม่ได้สร้างกรรม อีกทั้งยังไม่มีปัจจัยของการสร้างกรรม จึงเป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องดุจพระอรหันต์ที่เว้นจากตัณหาทั้งปวง ดังนั้นบาปอันเกิดจากการฆาตกรรมเด็กในท้องจึงไม่ต่างจาการฆ่าพระอรหันต์ 
แม้ว่าหลังจากทีเด็กในท้องได้คลอดออกมาสู่โลกแล้ว จะค่อย ๆ บังเกิดความคิดและกิเลสตัณหาขึ้น จนไม่ได้บริสุทธิ์เฉกเช่นพระอรหันต์ก็ตาม 
          ดังนั้นบาปของการทำแท้งจึงหนักกว่าบาปจากการฆ่าคนเสียอีก เพราะคนเราเมื่อเกิดมาหากไม่ได้ผ่านการฝึกฝนบำเพ็ญธรรม ย่อมต้องสร้างกรรมบ้างไม่มากก็น้อย การฆ่าผู้มีกรรมแม้จะมีบาปหนาสาหัส แต่ก็ยังน้อยกว่าฆ่าผู้ที่บริสุทธิ์ที่ไม่ได้สร้างกรรมอยู่มาก 
          
          ในครั้งที่พระพุทธองค์ได้ตรัส “กุมารปาล จิรายุวัฒน นิโรธกรรม ธารณีสูตร” ได้ตรัสถึงผู้ที่ทำแท้งว่า ยามมีชีวิตจะต้องรับกรรม โรคภัยรุมเร้า และมี อายุขัยสั้น เมื่อตายไปยังต้องตกสู่นรกอเวจี นี่จึงเป็นเหตุที่ว่าเหตุใดผู้บำเพ็ญหญิงจำนวนมากแม้จะมีความศรัทธาจริงใจในการบำเพ็ญธรรม แต่ชีวิตยังเต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำเค็ญ ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า บวกกับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม ทำให้ “การทำแท้ง” ในหลายที่ แทบจะ กลายเป็นสิ่งที่ไม่ผิดต่อกฎหมาย หรือผิดต่อมาตรฐานศีลธรรมของบางท้องที่ ทั้งที่สิ่งนี้ถือว่าเป็นความโชคร้ายและอันตรายอย่างยิ่งยวด แต่ผู้หญิงหลายคน กลับเห็นเป็นเรื่องธรรมดา หรือถึงกับมองว่าเป็นการคุมกำเนิดแบบหนึ่ง แล้วสร้างบาปอันหนักหนาสาหัสไปโดยไม่รู้ตัว จนชีวิตต้องประสบแต่ความมืดมน 
 
          ผู้หญิงบางคนที่บังเกิดความรู้สึกผิด ละอายต่อบาป ก้ถูกกลุ่มหลอกลวงเงินทองที่หลอกให้เลี้ยงกุมาร ที่นอกจากจะต้องเสียทรัพย์แล้ว ยังถูกกลุ่มคนเหล่านี้พรรณนาในรูปแบบต่างๆ จนทำให้ต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว 
“กุมารปาล จิรายุวัฒน นิโรธกรรม ธารณีสูตร” ที่มีการกล่าวถึงบาปของการทำแท้ง และวิธีการบรรเทาบาปนี้โดยละเอียด ด้วยหวังว่าจะทำให้ ผู้หญิงทั้งหลายไม่สร้างกรรมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และช่วยให้ผู้ที่ได้ก่อกรรมนี้ไปแล้ว ได้พ้นจากห้วงเหวแห่งบาปเวรอันล้ำลึก 
 
          ในพระสูตร “กุมารปาล จิรายวัฒน นิโรธกรรม ธารณีสูตร” นอกจากพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนถึงวิธีการไถ่ถอนบาปแก่สรรพสัตว์แล้ว ยังทรงแนะนำถึง “การรักษาเอกจิต” อันเป็นมหาธรรมอันประเสริฐ โดยการ “รักษาเอกจิต” นี้ ก็คือ รูปแบบการบำเพ็ญ “รักษาญาณทวาร” จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้บำเพ็ญทั้งหลายจะศึกษาให้เข้าใจในพระสูตรฉบับนี้อย่างลึกซึ้ง และเผยแผ่ให้เข้าใจกันอย่างถ้วนทั่ว 
 
          หนังสือเล่มนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ผู้ที่มีความต้องการสามารถทำการจัดพิมพ์เพื่อแจกจ่าย (ห้ามจำหน่าย) ได้ตามสะดวก 
 
“ขอให้การพิมพ์พระสูตรนี้แจกจ่าย ช่วยทำให้เหล่าสตรีพ้นเภทภัย เว้นจากการทำแท้งสร้างกรรมร้าย เว้นกรรมใหญ่ประหารฆ่าเด็กในครรภ์”
 


          1. ทำแท้งบาปหรือไม่ ?

 
          ในปัจจุบันเรื่องของการทำแท้งมีปัญหาข้อถกเถียงอยู่มากมาย บางคนคิดว่าเด็กในครรภ์ยังไม่คลอดออกมา จึงยังไม่นับเป็น “คน” ฉะนั้นการทำแท้งจึงไม่บาป แต่บุคคลในวงการศาสนาต่างอยู่ในจุดยืนที่ว่าเมื่อชีวิตได้ก่อเกิดขึ้น ก็ควรได้รับความเคารพและการปกป้อง โดยไม่ควรถูกกำลังของมนุษย์ไปทำร้าย 
 
          ใน “กุมารปาล จิรายุวัฒน นิโรธกรรม ธารณีสูตร” พระพุทธองค์ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ทำแท้งจะได้รับผลกรรมทำให้เจ็บป่วยและอายุสั้น หลังจากเสียชีวิตไปยังต้องตกไปสู่นรกอเวจี ไม่ได้ผุดไม่เกิด 
 
          เพราะเหตุใดการทำแท้งจึงมีบาปที่หนักถึงเพียงนี้ ?  เพราะบาปอันเกิดจากการทำแท้งนั้นเทียบเท่าได้กับการฆ่าพระอรหันต์ พระอรหันต์ คือ ผู้ที่บำเพ็ญตามแนวทางเถรวาท อาศัยการตัดอาสวกิเลส บำเพ็ญจนกระทั้งบริสุทธิ์ผุดผ่องและบรรลุในอรหันต์มรรค เหตุที่เด็กทารกถูกยกมาเทียบกับพระอรหันต์นั้น เป็นเพราะว่าแม้เด็กในท้องจะไม่ได้บำเพ็ญธรรม แต่การที่อยู่ในครรภ์ เหตุปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เขายังไม่มีโอกาสจะได้ทำชั่ว ฉะนั้นเด็กในครรภ์จึงนับได้ว่าเป็นชีวิตอันบริสุทธิ์ 
          พระพุทธองค์จึงจัดบาปจากการฆ่าเด็กในครรภ์เทียบเท่ากับการฆ่าพระอรหันต์ ในอนันตริยกรรมทั้ง ๕ โดยอนันตริย-กรรมนี้ ได้แก่ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์หรือฆ่าเด็กในครรภ์ ทำให้ พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก อันถือว่าเป็นบาปที่หนักที่สุดในพุทธศาสนา และต้องได้รับทุกขเวทนาจากนรกอเวจีไม่เพียงแต่ตายไปต้องได้รับทุกข์จากนรกอเวจีเท่านั้น ในยามที่มีชีวิตก้ต้องรับผลกรรมด้วยการป่วยหนัก หรืออายุยับสั้น และในความเป็นจริง ร่างกายและจิตใจของผู้หญิงที่ทำแท้ง ก็ได้รับความบอบช้ำจากทั้งร่างกาย และจิตใจอย่างยากที่จะเยียวยา 
 
          บ่อยครั้งที่การทำแท้ง ได้กลายเป็น ตราบาปที่ไม่อาจลบเลือนจากชีวิตไปได้ บางคนหลังจากทำแท้งแล้วก็เจ็บป่วยสารพัด บางคนก็เสียชีวิตไปพร้อมกับเด็กในครรภ์ตั้งแต่ตอนทำแท้ง บางคนแม้จะไม่เจ็บป่วย แต่ก็เป้นทุกข์ทรมานจากความรู้สึกผิด จนเกิดเป็นความหวาดระแวง ได้รับความทุกข์เวทนาแทบไม่ต่างจากนรกจึงขอเตือนสุภาพสตรีทั้งหลายอย่าได้ละเลยในเรื่องนี้ การทำแท้งอาจจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ชั่วคราว แต่จะนำมาซึ่งความเสียใจและความเจ็บปวดไปชั่วชีวิต 
 
          มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งที่เปรียบการทำแท้งไว้ว่า “มันเหมือนกับมีเงาบางอย่างที่จะคอยติดตามตัวเรา จนทำให้เราไม่อาจจะลืมเรื่องนี้ที่ได้ทำลงไป”และมีสุภาพสตรีอีกมากทีเห็นด้วยกับความรู้สึกนี้ 



 

          2. จะลบล้างบาปได้อย่างไร ?

 
           แต่หากได้ทำบาปด้วยการทำแท้งไปแล้ว จะลบล้างชะตากรรมแห่ง อกุศลกรรมนี้ไปได้อย่างไร ? ในพระสูตรฉบับนี้พระพุทธองค์ได้ตรัสบอกเอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้อง
 
1. สำนึกขอขมา
 
2. เจริญรักษาและเผยแพร่ “จิรายุวัฒนสูตร” (*1)
 
      สำนึกขอขมา
 
          ในพระสูตรได้กล่าวไว้ว่า “หากมีเวไนยสัตว์ ได้กระทำซึ่งปวงครุกรรม (*2)   เมื่อได้ขมากรรมสำนึกผิดต่อหน้าพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์ (*3)  อีกทั้งต้องไม่กระทำผิดซ้ำอีก บาปนั้นย่อมดับสลายไปได้” 
 
          วันนี้พวกเราได้พบกับการปรกโปรดอย่างกว้างขวางของ   พระศรีอริยเมตไตรย์   หากสามารถสำนึกขอขมาอย่างจริงใจต่อหน้าเบื้องพระแท่นแห่ง พระศรีอาริยเมตไตรย์ อีกทั้งไม่ทำแท้งซ้ำอีก ก็สามารถลบล้างบาปกรรมนี้ได้
 
 
---------------------------------------------------
(*1) กุมารปาล จิรายุวัฒน นิโรธกรรม ธารณีสูตร”
(*2) กรรมหนัก
(*3) พระสงฆ์ผู้บำเพ็ญอย่างบริสุทธิ์
 



 
 เจริญปฏิบัติและเผยแผ่ “จิรายุวัฒนสูตร”
 
           ในพระสูตรฉบับนี้ พระสมันตประภาสัมมาทัศนะตถาคต ได้ตรัสแก่ นางวิปลาสว่า “บัดนี้เธอได้สำนึกขอขมาอย่างจริงใจต่อหน้าตถาคต ตถาคตจักแสดงจิรายุวัฒนสูตรแด่เธอ เพื่อให้เธอสามารถพ้นจากความทุกข์จากการถูกอนิจภูตจับกุม  พึงทราบเถิดนางวิปลาส  ในอนาคตกาลในยุคแห่งความเลวร้ายและความเสื่อมทั้ง ๕ 4  ประการนั้น หากมีเวไนยสัตว์ใด ได้กระทำครุกรรม  ด้วยการฆ่าทำรายบิดามารดา วางยาพิษทำลายครรภ์ ทำลายสถูปอาราม ทำให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ฯลฯ     ผู้ที่กระทำอนันตริยกรรมทั้ง ๕ นี้ 
          หากได้น้อมรับและเจริญในจิรายุวัฒนสูตร ได้จารึกคัดลอกสาธยาย แม้จารึกคัดลอกด้วยตนเอง จ้างวานให้ผู้อื่นคัดลอก(จัดพิมพ์) จักสามารถลบล้างบาปกรรมนี้ และได้ไปอุบัติในพรหมโลกได้”
 
           พระสมันตประภาสัมมาทัศนะตถาคตตรัสว่า “ในโลกมีบุคคลอยู่ ๒ ประเภท เป็นผู้ที่หาได้ยากยิ่ง พบได้ยากยิ่ง เฉกเช่น ดอกอุทุมพร หนึ่งคือ ผู้คนผู้ไม่ประพฤติในอกุศลกรรม สองคือ ผู้ที่มีบาปแต่สามารถสำนึกขอขมาได้”
 
 --------------------------------------------------------------------
4 ความเสื่อมทั้ง ๕ หมายถึง ๑. ความเสื้อมแห่งทิฐิ   ๒. ความเสื่อมเพราะกิเลส
  ๓. ความเสื่อมของสัตว์   ๔. ความเสื่อมแห่งอายุ   ๕. ความเสื่อมแห่งกัลป์ 
 
 
 
          ในโลกแห่งความเสื่อมและความเลวร้ายนี้ บุคคลที่ไม่ประพฤติในอกุศลกรรมใดเลยนั้นนับว่าหาได้ยากยิ่ง หลายคนในภาวะที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ความวู่วาม และสาเหตุอื่นอีกมากมาย ที่ทำให้ไม่อาจหลีกเลี่ยงการสร้าง อกุศลกรรม  แต่หากสามารถสำนึกผิดอย่างจริงใจ และขอขมากรรม
 ก็ยังพอจะเป็นการวัวหายล้อมคอกได้  มีเพียงแต่การสำนึกขอขมาเท่านั้นที่จะดับบาปทั้งปวงได้
 แต่อะไรคือการสำนึกขอขมา ?  พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
 
          “อันคำว่าขมานั้น คือ การขอขมาในอกุศลกรรมทั้งหมดที่ได้ประกอบไว้ในอดีต 
และไม่ให้เกิดซ้ำ
  
          คำว่า สำนึก คือ การสำนึกในความผิดนั้น ๆ และตัดขาดอย่างสิ้นเชิง โดยไม่กระทำผิดซ้ำในอนาคต
 
          ”พูดง่าย ๆ ก็คือ ขอขมาในความผิด และสำนึกแก้ไข นอกจากจะสำนึกขอขมาอย่างลึกซึ้งจริงจังในบาปที่ได้กระทำมาแล้ว ยังจะต้องไม่ทำผิดซ้ำอีก จึงเป็นการสำนึกขอขมาอย่างแท้จริง  ฉะนั้นหากใช้จิตใจที่คิดว่าทำผิดเดี๋ยวก็แค่ไปสำนึกขอขมา ทำแท้ง เดี๋ยวก็ไปทำบุญสร้างกุศลชดเชย เช่นนี้ย่อมมิใช่“ขอขมาด้วยที่สุดแห่งความจริงใจ”  ดังที่พระสมันตประภาสัมมาทัศนะตถาคตตรัสไว้ แต่เป็นการทำผิดทั้งที่รู้ เช่นนี้จะสร้างบุญกุศลเท่าไหร่ก็ไม่มีบุญกุศล เพราะไม่ได้สำนึกขอขมาจากใจจริง
 
          การน้อมรับและเจริญปฏิบัติตามพระสูตร จะต้องเริ่มต้นจากการ สำนึกขอขมาในความผิดด้วยความศรัทธาจริงใจอย่างที่สุด รวมไปถึงผลักดันเจตนารมณ์ “คุ้มครองทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด” ของพระสูตรนี้ให้เป็นจริง เราจะปกป้องเด้กเล็กรวมถึงทารกในครรภ์ได้อย่างไร ?
 
          ในพระสูตรได้ชี้ว่า 
 
          ในยามที่ทารกถือกำเนิดมา อย่าได้ฆ่าสัตว์เบียดเบียนชีวิตเพื่อมาฉลองยามที่ทารกเจ็บป่วย อย่าได้ป้อนด้วยเลือดเนื้อต่าง ๆ 
 
          เจตนารมณ์แท้จริงของการเผยแพร่พระสูตรนี้อยู่ที่ ตักเตือนชาวโลกอย่าได้ทำแท้ง ฉะนั้นหากไม่มีทรัพย์มากพอในการจัดพิมพ์ก็สามารถใช้การตักเตือน กล่อมเกลาผู้คนไม่ให้ทำแท้งแทนการจัดพิมพ์พระสูตร ก้ได้กุศลเฉกเช่นเดียวกัน 
 
          นอกจากนั้นหากมีใครที่เคยทำแท้ง และกำลังได้รับทุกขเวทนา (จากวิบากกรรมของการทำแท้ง) ก้สามารถเขียนเล่าประสบการณ์ของตน และพิมพ์แจกจ่ายพร้อมกับพระสูตรฉบับนี้ เพื่ออาศัยประสบการณ์ของตนเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ชาวโลก 



 

        3. กินเจตลอดชีวิตหลีกเลี่ยงเภทภัยภายหลัง

 
          สตรีหลายคนหลังจากทำแท้งมักจะปรากฎเงามืดในใจ เกรงว่าเด็กจะแค้นอาฆาตแล้วมาเกิดใหม่อีกครั้ง ทำให้กลัวการตั้งครรภ์ กลัวว่าจะให้กำเนิดลูกเวรลูกกรรม (เจ้ากรรมนายเวรมาเกิดเป็นลูก) ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการสร้างปัญหาให้ตัวเอง แต่ยังจะนำความทุกข์ความเจ็บปวดมาให้กับคนในครอบครัวอีกด้วย 
 
          การเผชิญหน้ากับปัญหานี้และวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือ “การกินเจ” 
          การกินเจ ด้านหนึ่งเป็นการไม่ฆ่าสัตว์ สามารถลบล้างวิบากกรรม อีกด้านหนึ่งกับผู้ที่ถือศีลกินเจเป็นระยะเวลายาวนาน หากเป็นจิตญาณที่ไม่มีรากบุญและคุณธรรมก็ไม่อาจมาอยู่ในครรภ์ของผู้ที่กินเจได้ การกินเจ คือ หนึ่งในพฤติกรรมแห่งการคุ้มครองชีวิตและละเว้นการฆ่า ดังนั้นจิตญาณที่จะสามารถผูกบุญสัมพันธ์กับร่างกายของมารดาอันบริสุทธิ์ จึงมีเพียงเด้กที่มีกุศลมูลและคุณธรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เด็กในครรภ์คนกินเจจึงมักเป็นชายที่มีวาสนาและปัญญา เป็นหญิงที่เที่ยงตรงดีงาม นอกจากในวัยเด็กจะเลี้ยงง่ายแล้ว เมื่อเติบใหญ่แล้วล้วนเป็นลูกที่ดี กตัญญู ว่านอนสอนง่ายอีกด้วย 
 
          ฉะนั้นหากในใจเรายังมีเงามืดของการทำแท้ง และยากที่จะขจัดไปได้ก็ควรค่อย ๆ ฝึกทานเจ ในด้านหนึ่งการละเว้นการฆ่าสัตว์สามารถลบล้างบาปของตัวเองได้ ในอีกด้านหนึ่งก็สามารถให้กำเนิดลูกที่เปี่ยมด้วยบุญวาสนา ไม่ต้องกลัวที่จะให้กำเนิดลูกเวรลูกกรรม
 
          เด็กที่กินเจตั้งแต่ในครรภ์ ปกติจะรู้สึกหวาดกลัวอาหารคาว (อาหารเนื้อสัตว์) ดังนั้นจึงควรจะพยายามส่งเสริมให้เขากินเจ หลายครั้งคนที่เป็นพ่อแม่มักจะคิดไปเองว่าการให้ลูกกินเจ จะเป็นการจำกัดอิสระในการเลือกอาหารของลูก แต่ความจริงสิ่งนี้ไม่ได้แตกต่างไปจากการที่พ่อแม่จำกัดอิสระไม่ให้ลูกไปฆ่าคน เล่นการพนัน ซึ่งการจำกัดเช่นนี้ย่อมไม่ใช่ผลเสีย การจำกัดอิสระในการกินเนื้อสัตว์ของลูก จะช่วยให้ลูกห่างจากบาปเวรแห่งการฆ่าสัตว์ ทำให้ลูกเริ่มปลูกเนื้อนาบุญได้ตั้งแต่เด็ก และด้วยการละการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนี้ ก็จะทำให้อนาคตของเขายิ่งราบรื่นยิ่งขึ้น
 
Posted : 06/05/2021 10:30 am
Share: