Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

"ขายของออนไลน์" ยอดขายเท่าไรถึงต้อง "ยื่นภาษี" และต้อง "เสียภาษี" อย่างไรบ้าง?

1 Posts
1 Users
0 Likes
463 Views
thanunchai
(@thanunchai)
Posts: 2530
Member Moderator Registered
Topic starter
 

ขายของออนไลน์ เสียภาษี,โดนภาษี ขายของออนไลน์,ขายของออนไลน์ ยื่นภาษี 

เวลาของการ "ยื่นภาษี" กลับมาอีกครั้ง "ปีภาษี 63" เริ่มเปิดให้ "ยื่นภาษีปี 63" ได้ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. 64 สำหรับการยื่นเอกสารที่กรมสรรพากร และยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ถึง 30 มิ.ย. 64

เมื่อพูดถึงการยื่นภาษี หลายนึกถึงแต่มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ ทว่าในความเป็นจริงแล้วคนที่ทำอิชีพอิสระอย่างกลุ่มผู้ที่ "ขายของออนไลน์" ก็มีหน้าที่ยื่นภาษีเช่นกัน แต่คำถามที่ตามมาคือแล้วขายของออนไลน์ยอดขายเท่าไร ถึงต้อง "ยื่นภาษี" หรือ "เสียภาษี"

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปไขข้อสงสัยสำหรับ ผู้ที่กำลังขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจส่วนบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท ว่าต้องยื่นภาษีหรือไม่ แล้วควรเตรียมตัวอย่างไร หากต้องการจัดการเรื่องภาษีให้ถูกต้อง

"ขายของออนไลน์" ยอดขายเท่าไร ถึงต้อง "ยื่นภาษี"

ปัญหาที่หลายคนเจอ คืออยากยื่นภาษีให้ถูกต้องแต่ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ ต้องเสียภาษีเมื่อไร และต้องเตรียมการยื่นภาษีอย่างไร

(ผู้ที่ขายของออนไลน์ที่กำลังกล่าวถึงนี้ หมายถึง "คนขายของออนไลน์" ที่เป็นบุคคลธรรม ไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเท่านั้น)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คนที่จะต้อง "ยื่นภาษี" คือคนที่มี "รายได้" หรือ "เงินได้" ตามที่กำหนด สำหรับบุคคลธรรมดาที่ต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาท/ปี

แต่ในกรณีบุคคลธรรมดา (ไม่เปิดขายในฐานะของบริษัท ห้างหุ้นส่วน) ที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 94 เมื่อมีได้รายเกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) ซึ่งในกรณีที่ทำทั้งงานประจำ และขายของออนไลน์ก็จะต้องยื่นภาษีทั้ง 2 แบบ หากรายได้ถึงตามเกณฑ์ข้างต้น

ขายของออนไลน์ "คำนวณภาษี" ยังไง?

การขายของออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีวิธีการคำนวณ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 : (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได

การหักค่าใช้จ่ายในวิธีแรกสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

1. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาๆ ได้ 60% ของรายได้

2. หักตามจริง ถ้าใช้วิธีจะต้องทำ "บัญชีรายรับรายจ่าย" และ "เก็บหลักฐาน" ไว้ใหครบถ้วนเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ

วิธีที่ 2 : เงินได้ x 0.5%

โดยจะใช้วิธีที่ 2 เมื่อเรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี แล้วนำไปเปรียบเทียบกับวิธีแรก เพื่อเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้คุ้มกว่า

"ขายของออนไลน์" ต้องยื่นภาษีแบบไหน ยื่นเมื่อไรบ้าง ?

ผู้ขายของออนไลน์ที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลก็ต้องยื่นภาษี ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการขายของ ซึ่งจะต้องยื่นภาษี 2 รอบ

รอบแรก: สิ้นปี ยื่นช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค. (แบบ ภ.ง.ด. 90) จะเป็นการยื่นสรุปทั้งปีที่ผ่านมา

รอบสอง: กลางปี ยื่นช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. (แบบ ภ.ง.ด. 94) เป็นการยื่นสรุปรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) โดยสามารถใช้ค่าลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 จะเหลือ 30,000

ส่วนผู้ขายของออนไลน์ อาจต้องจ่าย "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" ด้วย ในกรณีที่มีรายได้ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT โดยเสียภาษีอยู่ที่ 7% ของรายได้ ที่สำคัญคือจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน หลังจากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท (พืชผลทางการเกษตร สัตว์ ตำราเรียน ส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หากมีภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการก็ต้องยื่นภาษีทุกๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และมีหน้าที่ต้องออก "ใบกำกับภาษี" ให้กับผู้มาใช้บริการด้วย

ขายของออนไลน์ ต้องรู้จัก "ภาษีอีเพย์เมนต์"

ส่วนกรณีที่มีการซื้อขายหรือไม่ก็ตาม แต่มีการรับโอนเงินถี่ๆ ข้อมูลในบัญชีนั้นๆ จะถูกส่งให้สรรพากรตรวจสอบตาม "ภาษีอีเพย์เมนต์" ได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 62 โดยกำหนดให้ทางสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของร้านค้าให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ เมื่อเข้าเกณฑ์เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. มีการฝากหรือรับโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดฝากต่อครั้ง หรือยอดรวมทั้งหมดจะเป็นกี่บาทก็ตาม

2. มีการฝากหรือรับโอนเงินเข้าทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันทั้งหมดตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป

ซึ่งการนับจำนวนครั้งและจำนวนเงิน นับตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. ของทุกปี

โดยผู้ที่ส่งข้อมูลจำนวนเงินและจำนวนครั้งในการโอนตามเกณฑ์นี้ให้กับสรรพากร คือ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์

โดยข้อมูลที่ต้องรายงานแก่สรรพากรคือ

1. ชื่อเจ้าของบัญชี

2. เลขประจำตัวประชาชน

3. จำนวนครั้งที่ฝากหรือรับโอน (ยอดรวม)

4. จำนวนเงินที่ฝากหรือรับโอน (ยอดรวม)

ทั้งนี้การตรวจสอบจะยังไม่ถือว่าเงินในบัญชีที่เข้าเกณฑ์เป็นรายได้ทั้งหมด จะต้องมีการวิเคราะห์กับข้อมูลอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ก่อนว่าเป็นรายได้ประเภทใด หากตรวจสอบพบว่าเป็นรายได้จริง

ขายของออนไลน์ เตรียมตัวจัดการภาษียังไงดี

ขั้นตอนที่ 1 จดบันทึกรายการซื้อ-ขายสินค้า

เพื่อนำมาใช้ในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายรายวัน ทำให้ไม่ลืม ไม่สับสน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการเรื่องเงินได้ง่ายกว่าการทำย้อนหลังมากๆ

ขั้นตอนที่ 2 เก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

ไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า ธุรกรรมทางการเงิน จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเมื่อสรรพากรเข้ามาขอตรวจสอบอีกด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่ตรวจสอบพบว่าความถี่และจำนวนเงินโอนเข้าบัญชีเข้าเกณฑ์ภาษีอีเพย์เมนต์ ตามที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาและติดตามข่าวสารทางด้านการเงินและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีอย่างต่อเนื่อง

เพราะเงื่อนไขในแต่ละปี มีอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ การอัพเดทอยู่เสมอจะช่วยให้จัดการภาษีได้ถูกต้องตามเงื่อนไข จัดการการเงินของตัวเองได้อย่างเหมาะสม และไม่มีปัญหาย้อนหลัง

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/921500

 
Posted : 17/04/2021 12:04 pm
Share: